วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565

TimeLine Namkhaw#5 ชุมชนน้ำขาว การเปลี่ยนผ่านบนรอยต่อของเมืองจะนะ เมืองพหุวัฒนธรรมและเมืองหน้าด่าน

เรื่อง: น้ำขาว 5 ชุมชนน้ำขาว : การเปลี่ยนผ่านบนรอยต่อของเมืองจะนะ เมืองพหุวัฒนธรรมและเมืองหน้าด่าน สมัยพระมหานุภาพปราบสงคราม(ปลอด ถิ่นจะนะ) พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๔๑ ".....พระมหานุภาพปราบสงคราม(ปลอด) ได้สร้างความเจริญแก่เมืองจะนะเป็นอันมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก ขั้นที่ ๔ ...และทรงมีพระบรมราโชบายปรับปรุงกิจการบ้านเมือง ให้เข้ากับการปฏิรูปเป็นมณฑลเทศาภิบาล ปี พ.ศ.๒๔๓๙... สำหรับเมืองสงขลา ประกอบด้วย ... อำเภอเมืองสงขลา ตั้งที่ว่าการเมืองสงขลา อำเภอปละท่า ตั้งที่ว่าการบ้านจะทิ้งพระ อำเภอจะนะ ตั้งที่ว่าการบ้านนาทวี อำเภอเทพา ............ ในปี พ.ศ.๒๔๔๓ ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากบ้านนาทวีไปอยู่ที่ตำบลบ้านนา ประเด็นศึกษา: ๑.ในสมัยพระมหานุภาพปราบสงคราม (ปลอด ถิ่นจะนะ) ชุมชนน้ำขาวได้เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ๒.อะไรคือสาเหตุสำคัญที่เป็นแรงผลักดันให้ชุมชนน้ำขาวร่วมกันสร้างเจดีย์ควนธง และพร้อมใจกันเปลี่ยนคณะนิกายทางศาสนา ในสมัยนี้... ชุมชนน้ำขาว: กับการเปลี่ยนผ่านด้านการศึกษา # ๔ โรงเรียนแรกในจังหวัดสงขลา# มหาวชิราวุธวิทยา กุมมาพิสมัย หฤทัยวิทยา เทวภักดีพูนเฉลิม. "โรงเรียนหฤทัยวิทยา" คือโรงเรียน ๑ ใน ๔ มุมเมืองของสงขลา ตั้งอยู่ที่วัดน้ำขาว อำเภอจะนะ....รายงานการตรวจการศึกษา ของ พระศิริธรรมมุนี ผอ.การศึกษานครศรีธรรมราช(กองจดหมายเหตุแห่งชาติ ร.ศ.๑๑๙) กล่าวไว้..."ตำบลนี้มีพระสงฆ์เป็นธรรมยุติกนิกาย ๕ วัด วัดน้ำขาวนอก ๑ วัดน้ำขาวใน ๑ วัดนาหมอสีนอก ๑ วัดนาหมอสีใน ๑ วัดควนสมิต ๑ ...."หลวงต่างใจ" มีความยินดีจะให้ตั้งโรงเรียนขึ้นในตำบลนั้น รับเป็นผู้อุดหนุนจนเต็มกำลัง แต่ในตำบลนี้จะหาสถานที่ควรตั้งโรงเรียนได้ไม่ค่อยมี พระในวัดนั้นๆ ความรู้ไม่พอ ราษฎรในตำบลนี้ไม่สู้จะชอบในการศึกษามากนัก มักเป็นแขกมาลายูเสียโดยมาก แต่ "หลวงต่างใจ" อยากจะให้มีโรงเรียนขึ้นให้จงได้ แต่อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสักหน่อย ถึงกระนั้น "หลวงต่างใจ" จะรับมาตรวจตราดูแลการขัดข้องอยู่เนืองๆ ได้ ในวัดน้ำขาว พระอ่ำ (ต่อมาคือ เจ้าอาวาสองค์ที่ ๖ ) เป็นคนฉลาด พอจะศึกษาให้เป็นครูได้ ตกลงว่าจะได้ตั้งโรงเรียนที่วัดน้ำขาวตำบล ๑ (ชื่อว่า หฤทัยวิทยา) โรงเรียนตำบลนี้เห็นจะเจริญช้าแต่ว่า หลวงต่างใจ คนนี้เป็นคนฉลาด ปฏิบัติราชการในหน้าที่ของตนเรียบร้อย เป็นที่สรรเสริญของราษฎรมาก ดูอัธยาศัยเป็นสัปปบุรุษอยู่ด้วย ถ้าเธอนั้นอุดหนุนแข็งแรงแล้วบางทีจะเจริญได้. ประเด็นศึกษา: ๑. "หลวงต่างใจ" คือใคร? ...มีบทบาท ภารกิจ ความรับผิดชอบ อย่างไร. ๒. "พระอ่ำ" คือใคร มีประวัติและบทบาททางการศึกษา อย่างไร ชุมชนน้ำขาว: กับการเปลี่ยนผ่าน...ก้าวเข้าสู่ยุคทองของการศึกษา ( พ.ศ.๒๔๔๒ - พ.ศ.๒๕๐๐ ) #ปฏิรูปคตินิยมและความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ปรับปรุงและปลูกสร้างศาสนาสถาน ให้มั่นคงถาวรทันสมัย วางรากฐานทางการศึกษาก้าวทันโลกยุคใหม่# บ้าน วัด โรงเรียน คือ ศูนย์รวมจิตใจและเสาหลักของการวางรากฐานการพัฒนาด้านการศึกษาของชุมชน มีผู้รู้กล่าวไว้ "โบสถ์ไม้ มีน้อยวัดมาก วัดที่มีโบสถ์ไม้ส่วนใหญ่สมัยก่อนจะเป็น โรงเรียน.." พ.ศ.๒๔๗๒ - ๒๔๗๘ วัดน้ำขาวนอก ร่วมกันสร้างโบสถ์ไม้ โดยชาวบ้านแบ่งหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันเข้าไปตัดไม้แล้วล่องลงมาตามสายน้ำคลองคู โดยนายช่าง คงทอง เป็นนายช่างผู้ควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ.๒๔๗๕ - ๒๔๘๕ มีโรงเรียนประชาบาล เปิดสอนระดับ ป.๑ - ๔ และต่อมาได้เปิดโรงเรียนเอกชนขึ้น ชื่อ โรงเรียนวรรณศิลป์ เปิดสอนต่อระดับ ม.๑-๓ (ป.๕ - ๗) ครูใหญ่ชื่อ ครูแซม....ครูผู้สอน คือ ครูเจริญ (เฉี้ยง) ไชยสุวรรณ ศิษย์เก่ารุ่นที่เรียนจบ ม.๓ คือ พระครูโชติธรรมวัฒน์ (ท่านแสง) นายเลี่ยม โอแก้ว และอดีตกำนันเจิน จันทร์เพชร พ.ศ.๒๔๘๒ วัดน้ำขาวใน สร้างศาลาโรงธรรมประกอบกิจกรรมทางศาสนาและใช้แทนห้องเรียนชั่วคราว โรงเรียนมีชั้นเรียนไม่เพียงพอ เมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์จัดงานฉลอง รับมหรสพ พิมหนังสือแจกจ่าย เป็นอนุสติชื่อ "สังขารธรรมคำกลอน" แก่ผู้มาเที่ยวงาน โดยกวีชุมชน นามปากกา "ลูกในถิ่น" นับเป็นจุดเริ่มต้นของการคิดทำวารสาร สิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ในชุมชน...